จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ค้นหาบล็อกนี้

คุณมีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง ??

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

คำถามทบทวน บทที่ 10 การผลิตงานกราฟิก

ข้อที่ 1 จงอธิบายคุณสมบัติของกะดาษที่ใช้ในงานกราฟิก
ตอบ 1.1กระดาษโปสเตอร์ เป็นกระดาษพื้นสีที่มีเยื่อกระดาษไม่เหนียวมากเท่าที่ควรโดยทั่วไปใช้กับงานโฆษณา ป้ายนิเทศ หรือสื่อการสอนกระดาษโปสเตอร์มี 2ชนิด คือ ชนิดหนามีหน้าเดียว และชนิดบางมี2หน้า
1.2กระดาษหน้าขาวหลังเทา เหมาะกับการทำบัตรคำแผนภูมิ แผนภาพ การใช้งานนอกจากเขียนด้วยพู่กันกับสีโปสเตอร์แล้วยังสามารถเขียนด้วยปากกาเมจิก และปากกาหมึกซึมได้ด้วย
1.3กระดาษวาดเขียน เป็นกระดาษที่มีความหนาหลายขนาด เช่น 80ปอนด์ 100ปอนด์เยื่อกระดาษไม่แน่นทำให้ดูดซับน้ำได้ดี เหมาะกับวาดภาพด้วยดินสอ ปากกา และสีน้ำ
1.4กระดาษชาร์ทสีเป็นกระดาษที่มีผิวมันเรียบเยื่อกระดาษแน่นกว่ากระดาษโปสเตอร์และกระดาษวาดเขียนทั่วไปจะเป็นสีอ่อนทั้งสองด้าน เหมาะกับการจัดป้ายนิเทศ
1.5กระดาษอาร์ตมัน เป็นกระดาษที่มีผิวมันเยื่อแน่นเหนียวไม่ค่อยดูดซับน้ำ เหมาะกับงานพิมพ์ปกหรือภาพประกอบหนังสือ
1.6กระดาษปอนด์ เป็นกระดาษชนิดบางเยื่อกระดาษไม่แน่นนิยมใช้กับงานพิมพ์เอกสสารทุกระบบ สามารถเขียนด้วยปากกาเมจิกและสีโปสเตอร์ได้ดี ไม่เหมาะกับสีน้ำ
1.7กระดาษลูกฟูกเป็นลักษณะที่มีกระดาษหนามาก โครงสร้างตรงกลางเป็นลูกฟูกประกบด้านหน้าและด้านหล้งด้วยกระดาษผิวเรียบทำให้แข็งเเรงกว่ากระดาษชนิดอื่นๆเหมาะกับทำสื่อการสอนประเภทการกล่อง


ข้อที่ 2 จงเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสีน้ำ สีพลาสติก และสีน้ำมัน
ตอบ ..."สีน้ำ" มีคุณสมบัติบางใสชนิดเหลวบรรจุในหลอดส่วนชนิดแห้งบรรจุในกล่อง
..."สีพลาสติก" เป็นสีเชื้อน้ำที่มีเนื้อสีหยาบและเข้มข้นกว่าสีโปสเตอร์
..."สีน้ำมัน" เป็นสีที่ใช้น้ำมันเป็นส่วนผสมหรือละลายได้


ข้อที่ 3 HB มีความสำคัญอย่างไรในการเลือกดินสอ
ตอบ HB เป็นดินสอที่ใช้กันทั่วไป มีความแข็งและความเข้มปานกลาง
H เป็นดินสอที่มีใส้แข็ง สีอ่อนจาง เหมาะกับงานวาดรูปและแรเงา ความแข็งของไส้ดินสอจะระบุเป็นตัวเลขกำกับไว้
B เป็นดินสอที่มีไส้อ่อน สีเข้ม เหมาะกับงานวาดรูปแรเงา ความอ่อนและความเข้มจะเพิ่มขึ้นตามตัวเลข

ข้อที่ 4 จงอธิบายความหมายและที่มาของคำว่า การ์ตูน

ตอบ ..."การ์ตูน" หมายถึง ภาพจำลอง เป็นสิ่งจำลองของบุคคล ทำให้คนเข้าใจถึงความคิด เข้าใจเรื่องราวต่างๆ เขียนเพื่อเน้นลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ซึ่งบอกหรือเล่าเรื่องราวได้อย่างรวดเร็ว
การ์ตูนมาจากภาษาลาติน Charta ซึ่งหมายถึงผ้าใบ เพราะสมัยนั้นการ์ตูน หมายถึง การวาดภาพ ลงบนผืนผ้าใบขนาดใหญ่ วาดบนผ้าม่านหรือเขียนลวดลาย หรือภาพลงบนกระจกและโมเสต
คำว่าการ์ตูน ในภาษาไทยนั้นใช้แทนคำและและความหมายจากภาษาอังกฤษ 2 คำ คือ Cartoon และ Comic ซึ่งมีผู้ให้ความหมายไว้ว่า
...."Cartoon หมายถึง รูปวาดบนกระดาษแข็ง อาจเป็นรูปวาดที่เป็นภาพล้อเลียนทางการเมืองหรือตลกขบขัน วาดอยู่บนกรอบและแสดงเหตุการณ์ที่เข้าใจได้อย่างชัดเจน และมีคำบรรยายสั้น ๆ
...."Comic หมายถึง รูปภาพการเล่าเรื่องราวต่างๆ โดยลำดับภาพ การคงรักษาบุคลิกภาพต่างๆ ไว้ในภาพลำดับต่าง ๆ กัน และการรวบรวมบทสนทนา หรือคำบรรยายไว้ภายในภาพ

ข้อที่ 5 จงอธิบายเทคนิคการเขียนการณ์ตูน

ตอบ 1.การเขียนภาพการ์ตูนลายเส้นธรรมดา
- ความเชื่อมั่นในตนเอง
- วัสดุเขียน การใช้วัสดุเขีนยที่ถาวรไม่ควรลบได้ จะช่วยให้ผู้เรียนเขียนอย่างระมัดระวังใจจดใจจ่อ
- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเส้น
- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของการเรียนรู้ การเลียนแบบเป็นวิธีการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งของมนุษย์ที่จะนำไปสู่การสั่งสมประสบการณ์แล้วเก็บไว้เป็นความรู้พื้นฐาน
- การถ่ายทอดจินตนาการเป็นรูปภาพดดยขาดทักษะประสบการณ์จะทำให้เกิดความอึดอัดมึมงงคิดไม่ออก วิธีแก้ไขควรใช้กระบวนการเรียนตามธรรมชาติ โดยการสังเกตภาพการ์ตูนแล้วลงมือเขียนตามสภาพจริงและตกแต่งได้ตามความคิดและจินตนาการ
- การ์ตูนแสดงพฤติกรรมได้ 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนใบหน้า แสดงอารมณ์ต่างๆ และส่วนลำตัว แสดงกิริยาท่าทางต่างๆ
2. การวาดภาพการ์ตูนเรื่อง
- ให้ผู้เรียนแต่ละคนศึกษาภาพการ์ตูนหลายๆภาพจากแหล่งต่างๆ
- การจักภาพที่มีลักษณะซ้อนบังกัน ซึ่งควรมีขั้นตอนการเขียนตามลำดับคือการเขียนฉากหน้า ฉากกลาง และฉากหลัง
- เมื่อผู้เรียนฝึกเขียนการ์ตูนเรื่องราวเสร็จแล้ว แต่ละคนสามารถประเมินตนเองได้ดดยใช้หลักเกณฑ์การประเมินการวาดภาพการ์ตูนลายเส้น
-การใช้สีไม้กับการ์ตูน

ข้อที่ 6 การเขียนภาพการ์ตูนมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ 1. ใช้สื่อความหมายแทนการเขียนข้อความยาวๆ
2. ดึงดูดความสนใจ ช่วยผ่อนคลายความเครียด
3. ใช้เป็นตัวแสดงแทนการกระทำที่เป็นอันตราย
4. ใช้เป็นสื่อแทนภาษาที่ 3 ได้ โดยวาดภาพแทนการพูด

ข้อที่ 7 จงอธิบายวิธีประดิษฐ์อักษรด้วยมือโดยตรง
ตอบ 1. การประดิษฐ์ตัวอักษรด้วยพู่กันแบน มีวิธีการดังนี้
1.1 นั่งตัวตรงตามสบาย ไม่ให้ลำตัวชิดกับกระดาษมากเกินไป
1.2 วางกระดาษให้ตรงกับขอบโต๊ะและค่อนไปทางขวามือเล็กน้อย
1.3 หลังจากจุ่มสีเสร็จแล้ว จับพู่กันให้กระชับมือเหมือนจับปากกาทั่วๆไป
1.4 ตั้งพู่กันประมาณ 80-90 องศา ให้สันมือเป็นส่วนสัมผัสกระดาษ
1.5 ลากพู่กันด้วยการเคลื่อนไหวข้อสอกกับหัวไหล่
1.6 การลากพู่กันควรลากจากบนล่งล่างและซ้ายไปขวา
1.7 การลาเส้นควรลากด้วยอิริยาบทสบายๆ ไม่ควรเกร็งนิ้วหรือแขน
1.8 การเขียนคำหรือประโยคควรชำเลืองดูตัวอักษรซ้ายมือเสมอ
1.9 การสังเกตเส้นสี ถ้าเส้นขาดๆหายๆเป็นเส้นแตก แสดงว่าสีข้นเกินไป แต่ถ้าเส้นที่บางใสปลายเส้นมีน้ำนองแสดงว่าสีเหลวเกินไป อย่างไรตามผู้เรียนต้องหมั่นฝึกฝน สังเกตและปรับปรุงให้ได้ผลงานที่ดีอยู่เสมอ